5 ข้อห้าม ทำแล้วลูกค้าเท ยอดขายตก

5 ข้อห้าม ทำแล้วลูกค้าเท ยอดขายตก

ร้านค้าปลีกยุคใหม่ ขายดีไม่พอ ต้องขายใจด้วย

ลองนึกภาพง่ายๆ ว่า…
วันนี้ลูกค้าเดินเข้าร้านคุณ ซื้อของได้ครบทุกอย่างในราคาที่เขาพอใจ แต่กลับออกจากร้านไปพร้อมความรู้สึกว่า

  • พนักงานพูดไม่ดี
  • เจ้าของร้านไม่ยิ้ม
  • ไม่มีใครถามไถ่
  • หรือแย่กว่านั้น…เจอสถานการณ์ไม่โอเคแต่ไม่มีใครรับผิดชอบ

คุณคิดว่าลูกค้าจะอยากกลับมาซ้ำอีกไหม?

คำตอบคือ: ยากมาก

นี่คือความจริงสำคัญของร้านค้าปลีกยุคนี้ ในยุคที่มีตัวเลือกมากมาย ทั้งหน้าร้านและบนโลกออนไลน์ การหาสินค้าสามารถทำได้งานๆ และสินค้าก็มีรูปแบบที่เหมือนๆ กันไปหมดทุกร้าน ลูกค้าไม่ได้ซื้อแค่สินค้า แต่เขาซื้อ “ความรู้สึก” และ “ประสบการณ์” ร่วมไปด้วยเสมอ

ข้อมูลจาก HubSpot ชี้ว่า

  • 93% ของลูกค้า มีแนวโน้มจะกลับมาซื้อซ้ำ หากได้รับบริการที่ดี
  • และ 48% ของลูกค้า เปลี่ยนแบรนด์ เพราะอยากได้บริการที่ดีกว่า

หรือถ้าพูดกันแบบง่ายๆ คือ…
“ร้านไหนบริการดี = ลูกค้าอยู่ยาว”
“ร้านไหนบริการแย่ = ลูกค้าไปแบบไม่บอกลา”

แต่ปัญหาสำคัญที่เจ้าของร้านค้าปลีกส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว คือ…

ความผิดพลาดที่ทำให้ลูกค้าเท ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แต่มันคือ “พฤติกรรมเล็กๆ” ที่ทำซ้ำๆ ทุกวันจนกลายเป็นสิ่งที่ผลักลูกค้าออกไปอย่างช้าๆ แบบที่เจ้าของร้านไม่รู้ตัว

ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึก “5 ข้อห้าม” ที่ถ้าร้านไหนยังเผลอทำอยู่บอกเลยว่า ลูกค้าเงียบ ลูกค้าเมิน ลูกค้าเท และยอดขาย…จะค่อยๆ ร่วงลงเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว

ข้อห้าม 1: พนักงานหน้าบูด ไม่ทัก ไม่ต้อนรับ

สิ่งเล็ก ๆ ที่ฆ่าบรรยากาศร้านแบบไม่รู้ตัว

ลองนึกภาพตัวเองเป็นลูกค้าดู… แล้วพอได้เดินเข้าร้านอยากเจออะไรเป็นอย่างแรก?

  • เจอรอยยิ้ม พร้อมคำทักทาย
  • เจอพนักงานที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ
  • หรือ…เจอ “หน้าบูดๆ” เหมือนไม่อยากขาย

การพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นเหมือนการเปิดประตูใจของลูกค้า ขอบอกเลยว่า สำหรับลูกค้าหลายคน “บรรยากาศแรก” มันสำคัญกว่าสินค้าในร้านด้วยซ้ำ!

เพราะอะไร “หน้าบูด” ถึงอันตรายกับร้าน?

  • ลูกค้าไม่กล้าถามอะไรเลย เพราะหลัวจะโดนพนักงานเหวี่ยงใส่
  • เดินดูของแบบเกร็ง ๆ เพราะเดินเข้ามาในร้านแล้ว กลัวจะโดนมองแรงถ้าออกไปเลย
  • จำเป็นต้องซื้อ แต่สุดท้ายก็ตั้งใจว่าจะไม่กลับมาอีก 
  • หรืออย่างที่แย่ที่สุดคือ ถ่ายรูปโพสต์ด่าลงโซเชียล!

รู้ไหมว่า พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเยอะมากในร้านค้าไทย โดยเฉพาะร้านที่เจ้าของไม่อยู่หน้าร้านเอง แล้วปล่อยพนักงานให้ยืนเฝ้าร้านแบบ “ร่างกายอยู่ร้าน แต่ใจไม่อยู่แล้ว”

แล้วเจ้าของร้านควรทำยังไง?

1. ทำมาตรฐานบริการ (Service Script)

เช่น

  • “สวัสดีค่า เชิญเลือกชมได้เลยนะคะ”
  • “วันนี้มองหาอะไรเป็นพิเศษไหมคะ”
  • “สนใจสินค้าชิ้นไหนแจ้งได้นะคะ”
  • “วันนี้มีโปรโมชั่นพิเศษ สนใจแจ้งได้เลยนะคะ”

2. เทรน Service Mind

ต้องทำให้พนักงานทุกคนเข้าใจตรงกันว่า…

รอยยิ้ม = เงินเข้า
บริการดี = ลูกค้ากลับมา

ไม่ต้องทำเหมือนลูกค้าเป็นพระเจ้า แต่ต้องดูแลลูกค้าให้ดีเหมือนกับที่ตัวเราอยากได้รับการบริการ

3. เช็คฟีดแบคลูกค้าบ่อย ๆ

  • ผ่าน Line OA
  • ผ่าน QR Survey
  • หรือถามตรง ๆ “พนักงานดูแลโอเคไหมคะ?”

ข้อห้าม 2: การตอบคำถามแบบ "สั้น-ห้วน-ขัดอารมณ์"

เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่คุณคิดลองนึกภาพดูว่า… คุณตื่นเช้า แวะร้านกาแฟประจำ อยากได้แค่ความสดชื่นเบาๆ ก่อนที่จะไปทำงานต่อหรือเข้าออฟฟิศ แต่พอเข้าไปเจอหน้าพนักงานนิ่งเฉย พูดจาแบบไม่ใส่ใจ เช่น…

  • “จะสั่งอะไรคะ?”
  • “มีมือมั้ยคะ? หลอดอยู่ตรงนั้น”
  • “สั่งดีๆ หน่อยค่ะ ฟังไม่รู้เรื่อง”
  • “อะไรอีกคะ? จะเอาอะไรอีก?”

หรือหนักกว่านั้น…ใช้คำพูดประชด ประชันแบบไม่รู้ตัว แค่นี้ ลูกค้าสะดุ้ง เงียบ และบอกตัวเองว่า…
“คราวหน้าจะไม่มาอีกแล้ว”

คำพูดแย่ = ทำลายใจลูกค้าแบบทันที

สิ่งที่น่ากลัวมากคือ… “ลูกค้าให้อภัยสินค้าพลาดได้ แต่ให้อภัยคำพูดไม่ดีได้ยากมาก”

เพราะมันไปกระทบกับ “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” โดยตรง หลายครั้งร้านค้าสูญเสียลูกค้า ไม่ใช่เพราะของไม่ดี แต่เพราะคำพูดไม่ดีจากเจ้าของหรือพนักงานเพียงแค่ประโยคเดียว

ทำไมการตอบแบบ “สั้น-ห้วน” ถึงอันตราย?

  • ลูกค้ารู้สึกไม่ได้รับการใส่ใจ (ทั้งๆ ที่มาทุกวัน หรือมาตามรีวิว)
  • บางคนรู้สึกโดนดูถูก เหมือนมองไม่เห็นตัวเค้า
  • ลูกค้ารู้สึกเหมือนไม่ welcome ไม่ต้อนรับ
  • รู้สึกไม่อยากที่จะซื้อเลย ทั้งที่ตั้งใจมาที่ร้านเพื่อซื้อสินค้าที่มีในร้านนี้
  • หรือแย่ที่สุด…แคปไปโพสต์ด่าในโซเชียล!

วิธีแก้ปัญหาแบบง่ายที่สุด (แต่ร้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำ)

  1. เทรน Empathy (การเข้าใจลูกค้า) ให้พนักงาน
  2. สร้าง Culture ร้าน “พูดดี คิดบวก”
  3. ฝึก Soft Skill เช่น วิธีตอบลูกค้า / วิธีตั้งคำถาม / วิธีขอโทษ
  4. มี Feedback Loop → ให้ลูกค้าให้คะแนนบริการหลังซื้อ
  5. ใช้ StoreHub CRM → บันทึกข้อมูลลูกค้า, พฤติกรรม, หมายเหตุเฉพาะตัวลูกค้า
    (เวลาเจอลูกค้าประจำ สามารถบริการได้แบบ Personalize)

ข้อห้าม 3: ขายของแบบยัดเยียด เกินความพอดี

เรียกได้ว่าเป็นเคสนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก เพราะตัวเซลล์เองอยากเพิ่มยอดขายของร้านมากเกินไป หรือยอดขายเดือนนั้นตกมากและอยากเร่งยอดขายขึ้น เคสนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะร้านประเภทความงาม เช่น ร้านเครื่องสำอาง หรือร้านสกินแคร์ ที่ลูกค้าเดินเข้ามาในร้านแบบตั้งใจจะซื้อของเพียง 1 ชิ้น แต่เซลล์มักจะพยายามดันขายให้ซื้อสินค้าอื่นๆ พ่วงไปด้วย หรือพยายามชี้ถึงปัญหาเพิ่มเติมของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าซื้อของเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น…

ลูกค้าหญิงคนหนึ่ง เดินเข้าไปที่ร้านเครื่องสำอาง อยากจะซื้อแค่ลิปสติกแท่งเดียว แต่พนักงานกลับบอกว่า…

“ถ้าซื้อครบ 5 ชิ้น จะได้โปรพิเศษนะคะ”
“เอาชุดนี้เพิ่มมั้ยคะ มันขายดีมากเลย”
“ซื้อแค่ลิปเดียวไม่คุ้มค่าโปรนะคะ”
“หน้าคุณลูกค้ามีปัญหาเรื่องฝ้าใช่มั้ยคะ สนใจรับครีมตัวนี้เพิ่มมั้ยคะ”

สุดท้ายลูกค้ารู้สึกกดดัน อึดอัด รำคาญ
จากที่อยากซื้อ → กลายเป็นไม่อยากซื้อ
เดินออกจากร้านแบบรู้สึกแย่ และอาจจะไม่กลับมาอีกเลย

ความอันตรายของการ “ขายของแบบยัดเยียด เกินความพอดี”

“ขายได้วันนี้…แต่เสียลูกค้าไปตลอดไป”
คือสิ่งที่เจ้าของร้านหลายคนไม่รู้ตัว

เพราะเวลาเราเร่งขายมากเกินไป หรือพยายามยัดเยียดสินค้าให้ลูกค้า ทั้งที่ลูกค้าไม่ได้อยากได้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมันไม่ได้กระทบแค่ยอดขายเฉพาะหน้า แต่ยังกระทบไปถึง “ความรู้สึก” และ “ความสัมพันธ์” ระหว่างร้านกับลูกค้าโดยตรง

  • ลูกค้ารู้สึก “โดนบังคับ” มากกว่า “โดนดูแล”
    ซึ่งลูกค้าจะป้องกันตัวเองทันที โดยการหนีออกจากร้าน
  • ลูกค้าเสีย “ความเชื่อใจ” ทันที
    เพราะลูกค้าจะแค่รู้สึกว่า “โดนหลอกให้ซื้อเกินเพื่อทำยอด”
  • ลูกค้าไม่กลับมาอีกเลย
    มาแล้วเหมือนโดนกดดัน ต้องทำยอด ต้องซื้อเยอะ เลยเลือกที่ไม่มาดีกว่า
  • ไปเล่าประสบการณ์ให้คนอื่นฟังหรือโพสต์ลงโซเชี่ยล
    ประสบการณ์ไม่ดี แพร่กระจายเร็วมาก การที่จะแก้ไขก็อาจจะทำได้ยากขึ้นด้วย

วิธีแก้ไขแบบร้านยุคใหม่ควรทำ

1. ฟังลูกค้าให้เยอะกว่าพูด

  • ตั้งคำถาม เช่น “วันนี้อยากได้แบบไหนคะ?”
  • หรือ “เคยใช้ตัวนี้มาก่อนมั้ยคะ?”
  • ฟังแล้วจับสัญญาณว่า ลูกค้าต้องการอะไร

2. ไม่เร่งขาย ยิ่งดูจริงใจ ยิ่งขายได้

  • เสนอแค่สิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ เท่านั้น
  • ถ้าจะเสนอเพิ่ม ต้องมีเหตุผลที่ดี เช่น “ตัวนี้ใช้คู่กันแล้วติดทนนานขึ้นนะคะ”

3. ใช้ข้อมูลลูกค้าให้เป็น

  • ถ้าร้านมีระบบที่เอาไว้เก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น StoreHub → ก็จะรู้เลยว่า ลูกค้าคนนี้เคยซื้ออะไรบ่อย
  • ซื้อสินค้าชิ้นไหนไปนานแล้ว และน่าจะใช้หมดแล้วบ้าง
  • หรือปกติซื้อแค่ชิ้นเดียวเป็นประจำ

การมีข้อมูลลูกค้าแบบนี้จะช่วยให้พนักงานหน้าร้านสามารถปรับวิธีขายเฉพาะบุคคล (Personalized Sale) และแนะนำสินค้าได้ดีมากขึ้น โดยไม่ต้องพยายามยัดเยียดสินค้าที่ลูกค้าไม่ต้องการ

ข้อห้าม 4: สินค้ามีปัญหา แต่ไม่รับผิดชอบ

ต้องบอกว่าปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่เรื่องจริงที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจมากที่สุด คือ…
“ท่าทีของร้านในการรับมือกับปัญหา”

โดยเหตุการณ์ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยที่สุด คือ

ลูกค้าไปทานอาหารที่ร้านอาหาร แล้วได้อาหารไม่ตรงกับออเดอร์ที่ส่งไป
เลยแจ้งพนักงานอย่างสุภาพว่า “ขอโทษนะคะ อันนี้เราไม่ได้สั่ง เสิร์ฟผิดโต๊ะหรือเปล่า”
แต่พนักงานก็ตอบกลับว่า “สั่งผิดเองหรือเปล่า เช็คดูดีๆ “

ต้องบอกว่าเหตุการณ์นี้ ร้าน GAMEOVER ทันที

ก่อนอื่นต้องทำให้พนักงานเข้าใจตรงกันก่อนว่า
ลูกค้าบ่น…ไม่ใช่ศัตรู แต่คือโอกาส

เชื่อเถอะว่าลูกค้าส่วนใหญ่ไม่อยาก complain หรอก
เพราะไม่มีใครอยากเสียเวลามานั่งบ่น หรือเป็น “ลูกค้าขี้วีน”
แต่เวลาที่ลูกค้าพูดออกมา = เพราะเขาคาดหวังอะไรบางอย่างจากร้านคุณ

ยังมีทางแก้ไข
ยังมีความหวัง
ยังอยากได้คำตอบ
ยังอยากให้คุณแก้ไข

ตัวอย่างคำพูดต้องห้าม ที่เจ้าของร้านไทยชอบพูดเวลาโดนบ่น

  • “ก็ลูกค้าทำ/สั่งเองนี่คะ”
  • “ร้านอื่นก็เป็นแบบนี้นะคะ”
  • “กฎร้านมันก็แบบนี้”
  • “ไม่มีใครบ่นเลย มีคุณคนเดียว”
  • “ปกติก็ไม่มีปัญหา มีแต่คุณนี่แหละ”

ฟังดูแล้วเหมือนแก้ตัว กยเอาเหตุผลขึ้นมาพูด…แต่จริงๆ สำหรับลูกค้า การพูดแบบนี้เหมือนเป็นการไล่ลูกค้าออกทางอ้อม อารมณ์ก็ไปร้านอื่นสิ จะมาร้านนี้ทำไม

จำไว้เลย! ลูกค้าที่ Complain = ลูกค้าที่รักร้านคุณมากกว่าคนเงียบๆ

เพราะคนที่แย่จริง…คือคนที่ “เงียบ แล้วไม่กลับมาอีกเลย”
และที่หนักกว่านั้น… “เงียบ…แต่แคปไปด่าลง Facebook / TikTok / Pantip”

แล้วเจ้าของร้านควรตอบแบบไหนถึงจะ win ใจลูกค้า?

เทคนิค 3 ขั้นตอนทองเวลาเจอลูกค้า Complain

ขั้นตอนตัวอย่างคำพูด
1. รับฟังเต็มที่แบบ  100% โดยไม่โต้แย้ง
จากนั้นขอโทษแบบจริงใจ
“ขอโทษจริงๆ ค่ะ ที่ทำให้ไม่สะดวกใจ”
“ขอโทษค่ะ เดี๋ยวจัดการให้ทันทีนะคะ”
2. แสดงความเข้าใจ ทำให้รู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน“เข้าใจเลยค่ะ ว่าเจอสถานการณ์แบบนี้คงไม่โอเคแน่ๆ”
3. เสนอทางออก พร้อมปิดท้ายด้วยประโยคดีๆ

“เดี๋ยวเราจะรีบแก้ไขให้นะคะ / มีอะไรให้ช่วยเพิ่มเติมแจ้งได้เลยค่ะ”
“ขอบคุณที่แจ้งนะคะ ทางร้านจะได้ปรับปรุงเลย”

เคล็ดลับขั้นสูง : เปลี่ยนวิกฤต Complain ให้เป็นโอกาส WOW!

ทำอะไรได้บ้างผลลัพธ์ที่ได้
ขอโทษ + แถมโปรหรือส่วนลดลูกค้าประทับใจ
แก้ไขทันที + ดูแลต่อเนื่องลูกค้ากลับมาอีก
ติดตามหลังจบเรื่องลูกค้ารู้สึกสำคัญ

ข้อห้าม 5: ไม่มีบริการหลังการขาย ขายแล้วจบ

ขายเก่งแค่ไหน ถ้าหายไปหลังขาย = ลูกค้าก็ลืม

หลายร้านในไทย ชอบทุ่มสุดตัวกับแค่ “ตอนขาย”

  • บริการดี
  • ตอบเร็ว
  • ดูแลเต็มที่

แต่พอลูกค้าจ่ายเงินปุ๊บ = หายตัว

  • No Line
  • No Follow up
  • No ติดต่อ
  • No Care

สุดท้ายลูกค้าจะรู้สึกว่า…
“ร้านนี้…เห็นเราแค่ตัวเงิน ไม่ได้เห็นว่าเราเป็นคนสำคัญ”
แล้วลูกค้าก็จะเปลี่ยนไปซื้อร้านอื่นทันที โดยไม่รู้สึกผิดอะไรเลย

ทำไม After Service หรือ CRM ถึงสำคัญ?

After Service คือ “ช่วงเวลาทอง” ในการเปลี่ยนลูกค้าขาจร → เป็นลูกค้าประจำ

เพราะธุรกิจยุคนี้ มันไม่ได้แข่งแค่ “ใครขายได้”
แต่มันแข่งกันที่ “ใครทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนสำคัญได้มากกว่า”

ลูกค้าชอบร้านที่ “ใส่ใจ” มากกว่าร้านที่ “ถูกสุด”

และนี่คือความจริงที่เจ้าของร้านไทยหลายคน “พลาดหนัก” ที่ปล่อยลูกค้าเงียบ หาย ลืม จนไปซื้อร้านอื่น

วิธีดูแลลูกค้าหลังการขายแบบมืออาชีพ

  1. มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้า (CRM)
  2. ทำ Loyalty Program → สะสมแต้ม / แลกรางวัล / สิทธิพิเศษ
  3. ส่ง SMS Marketing อัปเดตข่าวสารหรือโปรโมชั่นเฉพาะลูกค้าเก่า
  4. เช็ก Feedback หลังการซื้อ
  5. มีข้อความขอบคุณ หรือข้อความวันเกิด
  6. ทำโปรเฉพาะลูกค้าขาประจำเท่านั้น

เทคนิคทำ CRM ให้ร้านค้าดูแพงขึ้น (แบบไม่ต้องลงทุนเยอะ)

ทำอะไรผลลัพธ์
ส่งโปรส่วนตัวลูกค้ารู้สึก VIP
ทักหาลูกค้าเก่าลูกค้ารู้สึกคิดถึงร้าน
ทำ Point สะสมแต้มกระตุ้นซื้อซ้ำ
แจกของวันเกิดลูกค้ารู้สึก wow

สรุปเนื้อหา : 5 ข้อห้าม ทำแล้วลูกค้าเท ยอดขายตก

บทความนี้ต้องการเตือนเจ้าของร้านค้าในไทยทุกคนว่า…
“การขายดีอย่างเดียวไม่พอ” แต่ต้อง “บริการดี + ใส่ใจลูกค้า” ด้วย
เพราะลูกค้าสมัยนี้ไม่ได้เลือกแค่ร้านที่ราคาถูก แต่เลือก “ร้านที่ให้ความรู้สึกดี” ด้วย

สรุปให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ

  • ลูกค้าไม่ได้ซื้อแค่สินค้า → ลูกค้าซื้อ “ประสบการณ์” และ “ความรู้สึก”
  • ขายดีแค่ครั้งเดียวไม่พอ → ต้องให้ลูกค้าอยากกลับมาซ้ำ

ดังนั้น ร้านควรใส่ใจ 5 พฤติกรรมต้องห้าม ที่เจ้าของร้านไทยมักทำแบบไม่รู้ตัว
และกำลังเป็นต้นเหตุทำให้ “ลูกค้าเท ยอดขายตก” แบบเงียบๆ 

คีย์เวิร์ดสำคัญของการบริการลูกค้าในยุคนี้คือ

“ยิ้ม – ทัก – ตอบดี – ใส่ใจ – ดูแลหลังการขาย”

ร้านที่ทำแบบนี้ได้…
→ ลูกค้าไม่อยากไปไหน
→ ลูกค้าอยู่ยาว
→ ยอดขายโตแบบมั่นคง

Share this Post

Hey there! Please enter your store name.

.storehubhq.com